วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Memorandum./จดหมายเหตุและไปรษณียบัตร


จดหมายเหตุ 

หมายถึงบันทึก หรือรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยผู้บันทึกอาจเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลทั่วไปก็ได้ ตั้งแต่ครั้งอดีต พระมหากษัตริย์ไทย ทรงโปรดเกล้าฯให้มีธรรมเนียมการจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จดบันทึกดังกล่าวเรียกว่าอาลักษณ์ จดหมายเหตุนี้จะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหอจดหมายเหตุหรือหอหลวง เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อคนรุ่นหลัง จดหมายเหตุในราชวงศ์นี้ บางทีก็เรียกพระราชพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า และพระราชพงศาวดารเหนือ[1]ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์[2]ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จดหมายเหตุที่บันทึกโดยบุคคลในอดีตก็มีความสำคัญไม่น้อย มีทั้งการบันทึกเหตุการ์ทั่วไป การบันทึกเรื่องราวของตนเองอย่างลักษณะไดอารี่ ฯลฯ บางฉบับมีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมาก เช่น จดหมายเหตุบางกอก (อังกฤษ:Bangkok Recorder) ของหมอบรัดเลย์ จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส:Du Royaume de Siam) เขียนโดยมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 ของพระยาศรีสหเทพ (เส็ง) จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี จดหมายเหตุจีนว่าด้วยกรุงสยาม เป็นต้น
จดหมายเหตุในอดีตพบว่ามีการบันทึก โดยการเขียน การพิมพ์ ลงบนวัสดุต่างๆตามยุคสมัย เช่น แผ่นหิน ใบลาน กระดาษ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น